เจาะลึกข้อมูลเกี่ยวกับฟิลเลอร์ (Filler) และการดูและก่อนและหลังเข้ารับการบริการ

เจาะลึกข้อมูลเกี่ยวกับฟิลเลอร์ (Filler) และการดูและก่อนและหลังเข้ารับการบริการ

Filler คือ สารเติมเต็ม เพื่อแก้ไขความบกพร่องในบริเวณต่างๆของใบหน้าและบางส่วนของร่างกาย เช่น ริ้วรอย ร่องลึก รวมถึงการปรับแต่งโครงหน้า เนื่องจากเมื่อเราอายุเพิ่มมากขึ้น โครงสร้างหน้าและร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น กระดูกและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังลดลง คอลลาเจน (Collagen) ในชั้นผิวหนังลดลง และ อิลาสติน (Elastin) เสื่อมลงซึ่งทำให้ผิวหนังนั้นมีความหย่อนคล้อย ไม่เต่งตึง

ประเภทของสารเติมเต็มฟิลเลอร์ (Filler) มีอยู่หลากหลายประเภท โดยจะแบ่งประเภทออกได้เป็น

  1. Biodegradable : สลายเร็วภายใน 3 – 12 เดือน สารที่ใช้ในการเติมเต็มได้แก่ Collagen , Autologous fibroblasts, Hyaluronic acid
  2. Slowly Biodegradable : สลายได้ช้ากว่า Biodegradable อยู่ที่ 1 – 2 ปี โดยสารที่ใช้ในการเติมเต็มได้แก่ Hyaluronic acid, Ca-hydroxylapatite (CaHA), Poly-L lactic acid (PLLA)
  3. Non-Biodegradable : เป็นสารที่ไม่สลาย ปัจจุบันไม่ได้มีการนำมาใช้ ได้แก่ Silicone, Polymethylmethacrylate (PMMA), Polyacrylamide hydrogel (PAAG)

 การเตรียมตัวก่อนการเข้ารับการรักษาด้วยสารเติมเต็ม (Filler)

  1. ก่อนเข้ารับการฉีด ควรพูดคุยและปรึกษากับแพทย์ก่อนการรักษาทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป้น ตำแหน่ง ชนิด และ ปริมาณของฟิลเลอร์
  2. ก่อนรับการรักษา ควรงดรับประทานยาและอาหารที่มีส่วนประกอบดังนี้ อย่างน้อย 1 สัปดาห์ เพื่อช่วยป้องกันการเกิดรอยช้ำจากการรักษา
    1. ยาแก้ปวดในกลุ่ม  NSAIDs
    2. ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด โดยเฉพาะ Aspirin , Warfarin และ อื่นๆ โดยผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์โรคหัวใจก่อนหยุดยาทุกครั้ง
    3. วิตามิน E, ชาเขียว และ สารสกัดจากแปะก๊วย
  3. ทำความสะอาดผืวหนังก่อนรับการรักษาทุกครั้ง
  4. ทายาชาบริเวณที่จะทำการรักษา ประมาณ 30 – 45 นาที

การดูแลหลังการรักษาด้วยสารเติมเต็ม (Filler)

  1. หลังรับบริการอาจจะมีอาการบวมช้ำได้ในบางราย หากมีรายช้ำ ควรประคบน้ำแข็ง เพื่อช่วยลดอาการบวมและรอยช้ำ
  2. เลี่ยงความร้อน และการออกกำลังกาย 48 ชั่วโมง
  3. งดแอลกอฮอล์,บุหรี่และอาหารหมักดอง
  4. การรักษาบางตำแหน่ง ควรระวังบางท่าทางที่อาจกดบริเวณที่รักษา เช่น การนอนคว่ำ การท้าวคาง อาจทำให้ผลของการรักษาไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร
  5. หลีกเลี่ยงการทาครีมที่มีส่วนผสมของ AHA, BHA, Retinol 1-2 วันหลังรับการรักษา
  6. ดื่มน้ำวันละ 1.5-2.0 ลิตร
  7. งดรับประทานยาที่ทำให้เลื่อดออกง่าย เช่น แอสไพริน, ไวตามิน อี, น้ำมันตับปลา, แปะก๊วย และ โสม ต่ออีก  2-3 วัน เพื่อช่วยลดการเกิดรอยช้ำหลังรับการรักษา
  8. งดการนวดหน้า หรือ การทำทรีตเม้นท์ร้อน อย่างน้อย 2 สัปดาห์ และ งดเลเซอร์ร้อนอย่างน้อย 1 เดือน  ในบริเวณที่ทำการรักษา
  9. หากมีอาการบวมแดง รอยช้ำ สีม่วงชัดเจน ควรปรึกษาแพทย์

Asitq House Clinic (แอสธิค เฮาส์ คลินิกเวชกรรม)

เวลาทำการ 11.00 – 20.00 น. 
Working Time 11.00 – 20.00

Contact us

FB : Astiq House Clinic

IG : Astiqhouseclinic

Tiktok : Astiqhouseclinic

Line official : @Astiqhouseclinic

Website : www.astiqhouseclinic.com